ข้ามไปยังเนื้อหาหลักข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

เกี่ยวกับเรา

เอมิเรตส์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพโดยรวมผ่านเหตุการณ์สำคัญในการเดินทางมาเป็นสายการบินที่มีการเติบโตเร็วที่สุดของโลกของเรา
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป
มุมมองเต็มของรูป

บทนำ

เหตุการณ์สำคัญในการเดินทางอันน่าทึ่งของ
สายการบินเอมิเรตส์

ทบทวนช่วงเวลาสำคัญในประวัติของสายการบินเรา และวิธีที่เราเติบโตจากการเริ่มต้นอย่างพอประมาณ จนกลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญที่วงการบินทั่วโลกให้การยอมรับในผลิตภัณฑ์และบริการระดับแนวหน้าของเราในอุตสาหกรรมนี้

1984

เป็นปีที่สายการบินนี้ถือกำเนิดขึ้น

ในปี 1984 ท่านเชค อาห์เมด บิน ซาอีด อัล มัคตูม ซึ่งในขณะนั้นคือรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสมาชิกของราชวงศ์ดูไบ ได้ชักชวน เซอร์มัวริซ ฟลาเนแกน ซึ่งในขณะนั้นคือกรรมการผู้จัดการของ dnata มาเริ่มทำธุรกิจสายการบิน

ภายในเดือนธันวาคมปีนั้น แผนธุรกิจโดยสรุปก็เสร็จเรียบร้อย และได้เลือก “เอมิเรตส์” เป็นชื่อของสายการบิน

1985

ภารกิจที่ชัดเจน

เมื่อมีนาคม 1985 มัวริซ ฟลาเนแกน ได้รับภารกิจงานใหญ่ในการเปิดตัวสายการบินด้วยเงินทุนตั้งต้น 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 5 เดือน เขาได้รับภารกิจในการทำให้สายการบิน “ดูดี ดำเนินงานดี และทำกำไร” ไม่มีการอุดหนุนทางการเงินใด ๆ และการป้องกันเรื่องการเมืองทางอากาศ (aeropolitical protection) ภายใต้นโยบาย open skies ของดูไบ

1985

เที่ยวบินจากดูไบ
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 1985 สายการบินเอมิเรตส์ได้ดำเนินการบินเที่ยวบินแรกจากดูไบไปยังการาจีและมุมไบ ด้วยเครื่องโบอิ้ง 737 และการเช่าเครื่องแอร์บัส 300 B4 แบบเหมามาทั้งลูกเรือและนักบิน จากสายการบินนานาชาติปากีสถาน

1987

เป้นเจ้าของเครื่องบินของตัวเองเครื่องแรก

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 1987 A6-EKA ได้บินออกจากตูลูสไปยังดูไป เป็นเที่ยวบินแรกที่สายการบินเอมิเรตส์ให้บริการด้วยเครื่องบินของตัวเองนั่นคือเครื่องแอร์บัส A310-304

0

1992

สร้างมาตรฐานใหม่

เอมิเรตส์เป็นผู้นำของระบบความบันเทิงบนเที่ยวบิน เป็นสายการบินแรกที่ติดตั้งระบบวิดีโอในทุกที่นั่ง ในทุกชั้นห้องโดยสารตลอดทั้งฝูงบิน

1992

อาคารผู้โดยสารใหม่ที่ DXB
ในปี 1992 ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ได้ทำการปรับปรุงครั้งใหญ่เสร็จสิ้น ซึ่งทำให้สายการบินเอมิเรตส์ได้ย้ายไปใช้อาคารผู้โดยสารขาออกใหม่มูลค่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

1992

การสั่งซื้อเครื่องโบอิ้ง 777 เป็นข่าวพาดหัวทั่วโลก

การสั่งซื้อเครื่องโบอิ้ง 777 ของเอมิเรตส์ 7 ลำ พร้อมตัวเลือกในการซื้ออีก 7 ลำ ได้แสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยาน และรื้อฟื้นความมั่นใจของอุตสาหกรรมกลับคืนมา หลังจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสงครามอ่าวรอบแรก

1993

ทำการบุกเบิกการเชื่อมต่อบนเที่ยวบิน
เอมิเรตส์เป็นสายการบินแรกที่นำระบบโทรคมนาคมมาใช้บนเครื่องแอร์บัสสำหรับชั้นโดยสารทั้งสามชั้น

1994

บริการเครื่องโทรสารบนท้องฟ้า
เอมิเรตส์กลายเป็นสายการบินแรกที่ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องโทรสารบนเครื่องให้กับฝูงบินแอร์บัสของตนเอง เพื่อการสื่อสารของลูกค้าขณะบินอยู่กลางอากาศ

1998

เอมิเรตส์ทำการซื้อหุ้นกว่า 43 เปอร์เซ็นต์ใน Air Lanka

เอมิเรตส์ได้เข้าครอบครองหุ้นกว่า 43 เปอร์เซ็นต์ใน Air Lanka (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น SriLankan) และเซ็นสัญญาสำหรับการเข้าบริหารจัดการเป็นระยะเวลา 10 ปี

1998

อาคารผู้โดยสาร 2 ของสายการบินเอมิเรตส์ ที่ DXB เปิดแล้ว
อาคารผู้โดยสาร 2 ใหม่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ สามารถทำให้ขยายการรองรับผู้โดยสารได้กว่า 2 ล้านคนต่อปี

1999

ดูไบได้เติบโตจนกลายเป็นศูนย์กลางการบิน

ผู้โดยสารที่เดินทางมายังท่าอากาศยานนานาชาติดูไบมีจำนวนถึง 11 ล้านคน

ในปีงบประมาณ (1999-2000) สายการบินเอมิเรตส์ให้บริการผู้โดยสาร 4.7 ล้านคนด้วยฝูงบิน 32 ลำ

มีการเพิ่ม 0 เส้นทาง

เข้าไปในระหว่างทศวรรษที่ 1990

เมื่อขึ้นสหัสวรรษใหม่ เครือข่ายทั่วโลกของเอมิเรตส์ได้ขยายไปเป็น 50 เมืองจุดหมายปลายทาง

1990- ริยาด เตหะราน สิงคโปร์ มะนิลา แมนเชสเตอร์ 1991- ลอนดอน ฮีทโธรว์ ฮ่องกง เบรุต 1992- ปารีส โรม ซูริค จาการ์ตา 1993- ดัมมัม มัสกัต 1994- นีซ ลาร์นากา ลอนดอนแกตวิค 1995- โจฮันเนสเบิร์ก ไนโรบี 1996- เอเธนส์ เมลเบิร์น กัวลาลัมเปอร์ 1997- ดาร์ เอส ซาลาม 1998- มอลตา เปชวาร์ 1999- อิสลามาบัด ลาฮอร์ มิวนิค

2000

อาคารผู้โดยสารเชค ราชิดเปิดทำการ
อาคารผู้โดยสารเชค ราชิดเปิดทำการ เพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบเป็น 22 ล้านคนต่อปี

2000

สายการบินแรกที่ลงนามสั่งซื้อเครื่องแอร์บัส A380

เอมิเรตส์เป็นสายการบินแรกที่ลงนามสั่งซื้อเครื่องแอร์บัส A380 โดยสั่งซื้อเป็นจำนวนเจ็ดลำ พร้อมทางเลือกสำหรับการสั่งซื้อเพิ่มอีกห้าลำที่งาน Farnborough Air Show

เครื่องบินพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกรุ่นนี้จะกลายเป็นเครื่องบินสำคัญในฝูงบินของเอมิเรตส์ ตลอดอีกสองทศวรรษข้างหน้า

2004

ทำสัญญามูลค่า 100 ล้านปอนด์กับทีมอาร์เซนอล

เอมิเรตส์ได้ลงนามสัญญามูลค่า 100 ล้านปอนด์กับทีมอาร์เซนอล สโมสรใน
พรีเมียร์ลีก ของอังกฤษ ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ในสำหรับชื่อสนามกีฬาใหม่เป็นเวลา 15 ปี และเป็นผู้สนับสนุนโฆษณาบนหน้าอกเสื้อทีมเป็นเวลาแปดปี เริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2006/07

การต่อสัญญาใหม่ในปี 2012 และ 2018 ทำให้เอมิเรตส์กลายเป็นผู้สนับสนุนโฆษณาบนหน้าอกเสื้อทีมที่ยาวนานที่สุดในพรีเมียร์ลีก และเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์เชิงพันธมิตรที่ยาวนานที่สุดในวงการกีฬาโลก

2005

คำสั่งซื้อโบอิ้ง 777 ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์

เอมิเรตส์สร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 42 ลำ ด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการสั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวนมากที่สุดในครั้งเดียว ในวันนี้ สายการบินเอมิเรตส์คือผู้ดำเนินการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 777 ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

2008

อาคารผู้โดยสาร 3 ของสายการบินเอมิเรตส์ ที่ DXB เปิดแล้ว
อาคารผู้โดยสาร 3 ของสายการบินเอมิเรตส์ มีผู้โดยสารเดินทางออกจากที่นั่นกว่า 500,000 คนภายในเดือนแรกที่เปิดดำเนินการ

2007

บริษัทจัดเตรียมอาหารบนเที่ยวบินของสายการบินเอมิเรตส์
ฝ่ายจัดเตรียมอาหารบนเที่ยวบินของเอมิเรตส์เริ่มดำเนินการ ณ ที่ทำการใหม่มูลค่า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ท่าอากาศยาน
นานาชาติดูไบ

0

เส้นทางที่เพิ่มตั้งแต่ปี 2000-2010

การขยายเครือข่ายทั่วโลก

2000- บาห์เรน ซิดนีย์ เอ็นเท้บเบ้ มิลาน เชนไน เบอร์มิงแฮม 2001- ดึสเซลดอร์ฟ ไฮเดอราบัด 2002- คาซาบลังกา คาร์ทูม เพิร์ธ มอริเชียส โอซากา โคชิ 2003- มอสโก โอ๊คแลนด์ บริสเบน 2004- ลากอส อักกรา เซี่ยงไฮ กลาสโกว์ เวียนนา นิวยอร์ก ไครสต์เชิร์ช 2005- เซเชลส์ โซล ติรุวนันทปุรัม 2006- อาบีจาน ฮัมบูร์ก กัลกัตตา แอดดิสอาบาบา ปักกิ่ง ตูนิส เบงกาลูรู 2007- เวนิส นิวคาสเซิล เซาเปาลู อาเมดาบัด โตรอนโต ฮุสตัน 2008- เคปทาวน์ กวางโจว ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก 2009- เดอร์บัน ลูอันดา

2010

Dubai World Central -
ท่าอากาศยาน
นานาชาติ
อัล มัคตูม
ท่าอากาศยานนานาชาติอัล มัคตูม เปิดที่ Dubai World Central และเริ่มให้บริการเที่ยวบินเชิงพาณิชย์เที่ยวบินแรก Emirates SkyCargo ได้ย้ายการให้บริการเครื่องบินขนส่งสินค้าไปยัง DWC ในปี 2014

2012

การเป็นพันธมิตรระหว่างเอมิเรตส์และควอนตัส

เอมิเรตส์และควอนตัสได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางการค้าอย่างครอบคลุม เพื่อให้บริการลูกค้าทั้งสองสายการบินในเชื่อมต่อกับเครือข่ายทั่วโลกและทวีปออสเตรเลียอย่างไม่ติดขัด มอบสิทธิประโยชน์สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางบ่อย และประสบการณ์เดินทางระดับโลก

การร่วมงานกันเป็นเวลา 10 ปีนี้ จะเป็นมากกว่าแค่การใช้รหัสร่วมกัน แต่ยังรวมถึงการประสานงานเครือข่ายที่บูรณาการร่วมกัน การร่วมกำหนดราคา การขาย และการกำหนดตารางเวลา และรูปแบบการแบ่งผลประโยชน์ด้วย

2013

อาคารเทียบเครื่องบิน A380 แห่งแรกของโลก

อาคารเทียบเครื่องบิน A ที่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ เป็นสิ่งปลูกสร้างที่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานสำหรับเครื่อง A380 เป็นแห่งแรกของโลก ช่วยขยายการรองรับผู้โดยสารของสนามบินได้ถึง 75 ล้านคนต่อปี

อาคารเทียบเครื่องบิน A คือบ้านของฝูงบิน A380 ของเอมิเรตส์ ประกอบด้วยห้องรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่งของสายการบินเอมิเรตส์ที่มีเนื้อที่กว้างกว่า 19,000 ตร.ม. พร้อมการขึ้นเครื่องไปยังชั้นบนของเครื่องบิน A380 ได้โดยตรง

2014

แบรนด์สายการบินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก

เอมิเรตส์ได้ชื่อเป็น “แบรนด์สายการบินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก” และแบรนด์สายการบินที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตะวันออกกลาง โดย Brand Finance ด้วยมูลค่าถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐโดยประมาณ

2016

เอมิเรตส์มีชื่อเสียงจากการเป็นสายการบินที่ดีที่สุดในโลก
เอมิเรตส์ได้รับรางวัลเป็นสายการบินที่ดีที่สุดในโลก และได้รับรางวัลสำหรับระบบความบันเทิงบนเที่ยวบินที่ดีที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 จากงาน Skytrax World Airline Awards 2016

2017

พันธมิตรกับ flydubai
เอมิเรตส์และ flydubai ได้ประกาศการร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งได้ทำข้อตกลงในการใช้รหัสร่วมกันเพื่อขยายเส้นทาง ปรับตารางการบิน และเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่าย

2017

มีการแนะนำ “การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ”

เอมิเรตส์ได้กลายเป็นสายการบินแรกของโลกที่ได้ให้บริการห้องชุดส่วนตัวสำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ปิดรอบด้าน เพื่อความหรูหราและความเป็นส่วนตัวซึ่งไม่มีใครเทียบได้

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบโดย Mercedes Benz โดยได้มีการแนะนำผ่านทางแคมเปญโฆษณาทั่วโลกโดย Jeremy Clarkson ผู้มีชื่อเสียงในวงการโทรทัศน์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินทาง

2019

สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 จำนวน 30 ลำ

เอมิเรตส์ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 787-9 จำนวน 30 ลำ มูลค่า 8.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามราคาขายที่งาน Dubai Airshow

ซึ่งเพิ่มจากคำสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส A350 มูลค่า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เอมิเรตส์ได้สั่งซื้อเครื่องบินทั้งหมดที่งาน Dubai Airshow คิดเป็นมูลค่า 24.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

2019

เที่ยวบินที่ทำลายสถิติโลก

มีผู้โดยสารที่เป็นอาสาสมัครกว่า 540 คนจาก 145 ประเทศที่ขึ้นเครื่อบินของสายการบินเอมิเรตส์ในเที่ยวบิน EK2019 โดยทำลายสถิติโลกของบันทึกสถิติโลกกินเนสส์จากการมีผู้โดยสารหลากหลายสัญชาติมากที่สุดบนเครื่อง

เที่ยวบิน A380 ที่สำคัญในประวัติศาสตร์นี้แสดงถึงวันชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ Year of Tolerance ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งแสดงถึงความหลากหลายและความสามัคคีของพลเมืองและผู้มีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

0

เส้นทางที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2010-2019

เชื่อมต่อกับโลกไปยัง และผ่านดูไบ

2010- โตเกียว-นาริตะ อัมสเตอดัม ปราก มาดริด ดาการ์ เมดินา 2011- บาสรา เจนีวา โคเปนเฮเกน เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แบกแดด 2012- ริโอเดจาเนโร บัวโนสไอเรส ดับลิน ลูซากา ฮาราเร ดัลลัสฟอร์ตเวิร์ธ ซีแอตเทิล โฮจิมินห์ บาร์เซโลนา ลิสบอน วอชิงตันดีซี แอดิเลด ลียง ภูเก็ต 2013- วอร์ซอว์ แอลเจียร์ โตเกียว-ฮาเนดะ สต็อกโฮล์ม คลาร์ค โคนักรี เซียลคอต คาบูล 2014- ไทเป บอสตัน อาบูจา ชิคาโก ออสโล บรัสเซลส์ บูดาเปสต์ 2015- บาหลี ออร์แลนโด โบโลญญา อิสตันบูลผ่านทางสนามบินซาบิฮา กุคแซง 2016- เซบู ฮานอย ย่างกุ้ง ฟอร์ตลอเดอร์เดล 2017- นูอาร์ก ซาเกร็บ พนมเปญ 2018- ลอนดอนสแตนสเต็ด ซานเตียโกเดชิเล เอดินเบิร์ก2019- ปอร์โต เม็กซิโกซิตี้ (ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม)

2020

สายการบินเอมิเรตส์ได้รับรางวัลสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด
สายการบินเอมิเรตส์ยังคงเป็นสายการบินระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดเมื่ออุตสาหกรรมฟื้นสภาพจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยให้บริการแก่ผู้โดยสาร 15.8 ล้านรายในปี 2020

2021

เอมิเรตส์พาวิเลียน
เอมิเรตส์พาวิเลียนเปิดประตูต้อนรับผู้เข้าชมงานเอ็กซ์โป 2020 ที่ดูไบ เพื่อแสดงถึงอนาคตของธุรกิจการบินเชิงพาณิชย์